ทำความรู้จักกับ สื่อดิจิทัล
ปัจจุบันความการรับส่งข้อมูลข่าวสารมีเพิ่มมากทั้งด้านปริมาณและด้านรูปแบบหรือ ชนิดของข้อมูลจึงทำให้มีการพัฒนาและขยายตัวของระบบสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้น โครงข่ายข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Data Network) เป็นแนวทางหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการขยายตัว
ในยุคเริ่มแรกการรับส่งข้อมูลเป็นลักษณะการส่งข้อมูลแบบแอนะล็อก (Analog) ทั้งหมด เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทแทนที่ระบบแอนะล็อก เนื่องด้วยประสิทธิภาพการรับส่ง ข้อมูลที่รวดเร็วแม่นยำและการจัดเก็บที่คงทน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้สะดวก
รูปแบบกระบวนการสื่อสารในระบบดิจิทัลมีลักษณะคล้ายคลึงกับ กระบวนการสื่อสารทั่วไป ประกอบด้วย
- ผู้ส่งสาร (Sender)
- ข้อมูลหรือสาร (Message)
- สื่อกลาง (Media)
- ผู้รับสาร (Receiver)
เป็นการส่งข้อมูลหรือสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ส่วนตัวกลางทำหน้าที่ส่งสารก็คือสื่อความแตกต่างก็อยู่ตรงที่ “สื่อกลาง” ของ กระบวนการสื่อสารระบบดิจิทัลจะจัดเก็บและจัดส่งเฉพาะข้อมูลที่ถูกบันทึกในรูปของรหัสดิจิทัลเท่านั้น (ดารา ทีปะปาล, 2553)
ดังนั้นในขั้นตอนการส่งสารจึงจำเป็นต้องแปลงสารให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่พร้อมจัดเก็บไว้ในสื่อกลางได้เสียก่อน และเมื่อสื่อทำการส่งสารดิจิทัลไปถึงผู้รับสาร ก็ต้องมีการเปลี่ยนสารดิจิทัลให้เป็นรูปแบบธรรมชาติอีกครั้งเพื่อผู้รับสารเข้าใจได้
ความหมายของสื่อดิจิทัล
ความหมายของ สื่อ (media) ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า คนหรือสิ่งที่ติดต่อให้ข้อมูลถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน
ส่วนคำว่า media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) ที่มีหมายถึงว่าอะไรก็ตามที่บรรทุกนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ จากแหล่งกำเนิดสารไปยังผู้รับสาร
นอกจากนี้ศาสตราจารย์ไฮนิช (Heinich) นักเทคโนโลยีทางด้านสื่อของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อ” ว่า “Media is a channel of communication” (Heinich,1996) แปลว่า “สื่อคือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร”
สอดคล้องกับศาสตราจารย์ Romiszowski ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบการพัฒนาและการประเมินผลสื่อของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) กล่าวว่า
”Media is the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)”
(A. J. Romiszowski, 1992)
แปลว่า “สื่อเป็นตัวนำสารจาก แหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็น มนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต) ไปยังผู้รับสาร”
ความหมายของดิจิทัล (Digital) ตามรากศัพท์ภาษาลาตินมาจากคำาว่า Digit มี ความหมายว่า นิ้ว เพราะนิ้วมือมักจะใช้สำหรับการนับที่ไม่ต่อเนื่อง เหมือนกับสัญญาณดิจิทัลที่เป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องคือมีการปิด การเปิด
นอกจากนี้ตามพจนานุกรรมคำศัพท์ คอมพิวเตอร์ หมายความว่า ลักษณะการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิธีการเก็บได้เพียงสองสถานะ เช่น สถานะเปิดหรือปิด บวกหรือลบ เป็นต้น
ในการทำงาน ระบบดิจิทัลจะให้ค่าที่เป็นตัวเลขระบบฐานสองที่ประกอบด้วย 1 และ 0 ในปัจจุบันระบบดิจิทัลเป็นที่นิยมใช้กันมากในระบบคำนวณและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในการนำไปใช้ในระบบเสียงออดิโอ ระบบภาพดิจิทัล
ความหมายของสื่อดิจิทัล (Digital Media) จึงหมายความว่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานโดยใช้รหัสมาตรฐานดิจิทัล หรือถ้าทำความเข้าใจง่าย ๆ คือ ข้อมูลหรือข่าวสาร เช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง เป็นต้น เมื่อรับเข้าจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลแบบระบบเลขฐานสอง (Binary Number) ตามรหัสมาตรฐานดิจิทัล ที่สามารถเก็บลงในตัวกลางแบบดิจิทัล (Digital Media) และเมื่อต้องการนำกลับมาสู่รูปแบบเดิม (รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง) จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเลขระบบฐานสองเหล่านี้ให้กลับไปเป็นรูปแบบเดิม (รูปภาพ วีดิทัศน์ เสียง) เช่นกัน
ในหลายโอกาสที่คำว่า ดิจิทัล จะถูกเรียกแทนด้วยคำว่า “อี”(e-) ที่ย่อมาจากคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เช่น อีเมล์ (E-mail) คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อีบุ๊ค (E-book) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
Digital Media และ Multimedia ทั้งสองคำนี้อาจจะเรียกรวมว่า New Media ทั้งสองคำต่างก็มีความเกี่ยวโยงกัน ถ้าลองคิดถึงสื่อที่มีลักษณะเป็นดิจิทัล ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสิ่งที่เราได้เคยใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน เช่น การพิมพ์ข้อความเพื่อส่งเมล์ การเปิดฟังเพลงด้วยคอมพิวเตอร์ การชมภาพถ่ายที่เก็บในฮาร์ดดิสก์ การชมภาพเคลื่อนไหวผ่านคอมพิวเตอร์ การดูวิดีโอหรือการติดต่อสื่อสารสนทนาระหว่างบุคคล เป็นต้น
ในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเรารับข้อมูลผ่านสื่อที่เป็นดิจิทัลทั้งสิ้น ซึ่งก็คือ Multimedia หรือ New media ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสื่อสารในยุคปัจจุบัน
รูปแบบของสื่อดิจิทัล
สื่อดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอดทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ต้นทุนในการผลิตและจัดหาสื่อดิจิทัลถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต ในขณะที่ประสิทธิภาพการแสดงผลทั้งภาพและเสียงถูกพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากสถานที่ต่าง ๆ หรือแม้แต่ที่บ้านซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดียอยู่แทบทุกบ้าน อีกทั้งในด้านของซอฟต์แวร์ก็สามารถทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทำให้มัลติมีเดียจะถูกนำไปใช้ประโยชน์
สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน
ในงานด้านต่าง ๆ ในแทบทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ด้านธุรกิจ ด้านสื่อสารมวลชนและด้านการศึกษาจึงสามารถแบ่งสื่อดิจิทัลเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1 สื่อดิจิทัลเพื่อกำรนำเสนอ (Presentation digital media)
สื่อรูปแบบนี้มุ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจ น่าสนใจ น่าติดตามและถ่ายทอดผ่านประสาทสัมผัสที่หลากหลายผ่านตัวอักษร ภาพและเสียง ในปัจจุบันพัฒนาถึงขั้นให้ผู้ชมสัมผัสถึงความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความร้อน ความเย็น การสั่นสะเทือน หรือการได้กลิ่น เป็นต้น
เน้นการนำไปใช้งานเพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผู้ผลิตวางแผนการนำเสนอเป็นขั้นตอนไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น แนะนำองค์กรแสดงแสงสีเสียง การเปิดตัวสินค้า หรือการนำเสนอประกอบการบรรยาย
ส่วนใหญ่มักใช้ได้ทั้งการนำเสนอเป็นรายบุคคลและการนำเสนอต่อผู้ชมกลุ่มใหญ่ ผู้ใช้จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ชมสื่อ โดยที่ผู้ใช้และสื่อแทบไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ หากมองในรูปแบบของการสื่อสารแล้ว สื่อดิจิทัลลักษณะนี้จะ จัดเป็นการ สื่อ สารทางเดียว ( One-way communication)
2 สื่อดิจิทัลปฏิสัมพันธ์ (Interactive digital media)
เป็นรูปแบบที่เน้นให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบสื่อสารกับสื่อได้โดยตรงผ่านโปรแกรมมัลติมีเดียที่มีลักษณะของสื่อหลายมิติหรือที่เรียกว่า Hypermedia ที่เนื้อหาภายในสามารถเชื่อมโยงหรือ Link ถึงกันได้
สื่อดิจิทัลรูปแบบนี้นอกจากผู้ใช้จะสามารถดูข้อมูลได้หลากหลายลักษณะเช่นเดียวกับรูปแบบแรกแล้ว ยังสามารถสื่อสารโต้ตอบกับสื่อผ่านการคลิกเมาส์แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น ๆ
สื่อประเภทนี้จัดเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) พัฒนาการของสื่อดิจิทัลประเภทปฏิสัมพันธ์นี้จากเดิมที่อาจเป็น CD-ROM ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ อ่านจากข้อความ ดูภาพจากจอ ฟังเสียงผ่านลำโพง แต่ปัจจุบันได้พัฒนาจนกลายเป็นสื่อ “เสมือน” (Virtual Reality) ที่เสริมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สื่อเสมือนอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง เช่น เครื่องจ าลองการขับเครื่องบิน เครื่องจำลองการฝึกผ่าตัด เครื่องจำลองการฝึกเล่นกีฬา เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อดิจิทัล
ข้อดีของสื่อดิจิทัล
1 ความคงทน คุณภาพของสิ่งที่อยู่ใน “Digital Media” การเสื่อมสภาพจะใช้เวลานานกว่าเพราะรูปแบบของข้อมูลที่จัดเก็บแบบสองระดับ (0 กับ 1) โอกาสที่จะผิดเพี้ยน จะเกิดขึ้นได้ยากกว่าข้อมูลแบบต่อเนื่อง เช่น การบันทึกภาพลงในวีดีทัศน์แบบแอนะล็อก กับการบันทึกภาพลงวีดีทัศน์ ในระบบดิจิทัล เมื่อเส้นเทปยืด การดึงข้อมูลกลับมาในแบบดิจิทัล
นั้นจะทำได้ง่ายกว่า แต่สำหรับแบบแอนะล็อกนั้นคุณภาพของภาพจะลดลงโดยทันที
2 รูปแบบของการนำไปใช้งาน ทำได้หลากหลายวิธี ข้อมูลที่จัดเก็บในแบบดิจิทัล ถือได้ว่าเป็นข้อมูลกลางที่สามารถแปลงไปสู่รูปแบบอื่นได้ง่าย เช่น ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิทัล เมื่อได้เป็นข้อมูลภาพออกมาแล้ว ก็สามารพิมพ์ภาพลงบนกระดาษ หรือจะแสดงภาพบนจอคอมพิวเตอร์หรือบนจอทีวีก็ได้เช่นกัน
3 การนำไปผสมผสานกับสื่อรูปแบบอื่น เช่น ภาพถ่าย นำมารวมกับเสียง เป็นต้น เรียกว่าเป็นการแสดงแบบ Multi-Media
4 การปรับแต่ง (Edit) การปรับแต่งสื่อที่เป็นภาพถ่าย วิดีโอ เสียงนกร้อง เป็นต้น สิ่ง ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้สามารถนำมาปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ปรับให้แปลก เหมือนจริง เหนือจริง หรืออื่น ๆ ตามที่เราต้องการได้ การสอดแทรกสิ่งเหล่านี้ทำให้น่าดู น่าฟัง มากกว่าปกติและมีความวิจิตรพิสดารมากขึ้นเท่าใดก็ได้
5 เข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา แค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต
6 สื่อจะมีราคาถูกลง เมื่อมีการพัฒนาสื่อประเภทนี้มากขึ้น
ข้อจำกัดของสื่อดิจิทัล
1 การออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการที่มีคุณภาพ และเหมาะสมตามหลักการใช้งานยังมีจำนวนน้อย
2 การออกแบบสื่อต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความสามารถและความชำนาญมาก
3 มีหลายตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบแม่ข่าย (Server) ที่อาจขัดข้องและไม่สามารถใช้สื่อนี้ได้ เป็นต้น เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องมีความรู้ใหม่
เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
4 การดูแลสื่อประเภทนี้ต้องการทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมาก
5 ง่ายต่อการกระทำผิดศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดในสิทธิของผู้อื่น การเอาภาพของบุคคลหนึ่งมาตัดต่อกับภาพเปลือยกายของอีกคนหนึ่ง หรือคัดลอกงานมีลิขสิทธิ์ถูกต้อง เป็นต้น
การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
สื่อดิจิทัลในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และใช้งานของผู้คนในสังคมเพิ่มขึ้น ยุคที่ กระแสของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนใช้เวลาอยู่กับสื่อต่าง ๆ รอบตัวมากกว่าการ 16 เทคโนโลยี สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวันทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจมากกว่า สื่อดิจิทัลจึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงอิทธิพลและยอดนิยมต่อผู้คนในสังคมที่สามารถถ่ายทอดสิ่งโดยตรง และผลกระทบที่ตามมาคือ คนใจสังคมจะเสพสื่อที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศ ความรุนแรง และการบริโภคนิยม สิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อเยาวชน ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไปในอนาคต การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นทักษะหรือความสามารถใน “การใช้สื่ออย่างรู้ตัว”และ “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว” คำว่า “การใช้สื่ออย่างรู้ตัว” สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า สามารถตีความวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ สามารถโต้ตอบกันอย่างมีสติและรู้ตัว สามารถตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ส่วนคำว่า “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว” สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า แทนที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราต้องเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุก โดยการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อให้ดีขึ้น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ
ดังนั้นเพื่อให้ผู้คนในสังคมสามารถแยกแยะสื่อจากพื้นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง โดยการรู้เท่าทันสื่อและนำสื่อไปใช้อย่างสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้สร้างสรรค์สื่อมากขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภาคีเครือข่าย ร่วมรณรงค์และขับเคลื่อนความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งสื่อออนไลน์ หนังสือนิทาน อินโฟกราฟิก ฯลฯ เพื่อช่วยให้เด็กไทยและผู้ผลิตสื่อใช้พลังของการสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ถือเป็นคุณสมบัติของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถเลือกรับ วิเคราะห์ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งความสามารถในการผลิตสื่อที่ดีเพื่อขับเคลื่อนสังคม อย่างสร้างสรรค์
สิ่งที่ “ผู้รับสื่อ” ต้องพิจารณา คือ สื่อดิจิทัลมีที่มาอย่างไร ใครเป็นเจ้าของ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ สื่อต้องการจะบอกอะไรกับเรา สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของเราอย่างไร และสื่อกำลังสร้างและสะท้อนค่านิยมอะไรในสังคม ส่วนสิ่งที่ผู้“ผลิตสื่อ” ต้องตระหนักรู้คือ เจตนาในการสื่อสารของเราคืออะไร เรากำลังทำผิดซ้ำกับค่านิยมบางอย่างอยู่หรือไม่ มีใครได้รับผลกระทบจากการกระทำของเราหรือไม่ และเรากำลังละเมิดสิทธิใครอยู่ หรือไม่ องค์ประกอบทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี โดยก่อให้เกิดสื่อ
สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน
ดิจิทัลที่มีประโยชน์เพื่อสังคม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายใต้การผลิตสื่อดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมองค์ประกอบนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดีประโยชน์ของกำรรู้เท่าทันสื่อ
1 ตระหนักในความสำคัญของการเลือกและจัดสรรเวลาตนเองในการใช้สื่อ
2 เรียนรู้ทักษะการดูแบบวิพากษ์ สามารถวิเคราะห์และตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร และควรเชื่อสื่อหรือไม่
3 สามารถวิเคราะห์สื่อในเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนนำไปสู่การสร้างเวทีทางสังคม
บทสรุป
สื่อดิจิทัล (Digital Media) เป็นข้อมูลหรือข่าวสาร เช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง เป็นต้น ที่อยู่ในระบบเลขฐานสอง (Binary Number) ตามรหัสมาตรฐานดิจิทัล โดยมีกระบวนการเข้ารหัสสัญญาณทางไฟฟ้า มี 2 สถานะ คือ ปิด (0) เปิด (1) นำมาผ่านกระบวนการเข้ารหัสจากสัญญาณธรรมชาติเป็นข้อมูลดิจิทัลและถอดรหัสจากข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณธรรมชาติ โดยการเข้ารหัสมาตรฐานระบบเลขฐานสองที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ มี 3 รูปแบบที่นิยมใช้กัน คือ รหัสมาตรฐานเอบซีดิก รหัสมาตรฐานแอสกี้ รหัสมาตรฐานยูนิโค้ด
สำหรับสื่อดิจิทัลสามารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
สื่อดิจิทัลเพื่อการนำเสนอ และสื่อดิจิทัลปฏิสัมพันธ์ โดยมี องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ วิดีทัศน์ (Video) ตัวอักขระ (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และปฏิสัมพันธ์ (Interactive)
ขอบเขตกระบวนการผลิตสื่อดิจิทัล มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนการผลิต (PreProduction) ขั้นการผลิต (Production) ขั้นหลังการผลิต (Post-Production) และขั้นนำเผยแพร่ (Distribution)
ในการใช้สื่อดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ส่วนแนวโน้มสื่อดิจิทัลในปัจจุบันจะมีบทบาทมากขึ้น โดยอย่างยิ่งสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้จำนวน มาก ดังนั้นผู้ใช้ต้องมีวิจารณญาณในการใช้ให้รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : https://library.wu.ac.th/